วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ฆ้องวงใหญ่

ฆ้องวงใหญ่



เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากฆ้องรางของอินโดนีเซีย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนประกอบของฆ้องวงใหญ่ประกอบด้วยลูกฆ้องและวงฆ้อง ลูกฆ้องมี 16 ลูกทำจากทองเหลืองเรียงจากลูกเล็กด้านขวา วงฆ้องสูงประมาณ 24 เซนติเมตร ใช้หวายโป่งทำเป็นราง ให้หวายเส้นนอกกับเส้นในห่างกัน 14 -17 เซนติเมตร ใช้หวาย 4 อัน ด้านล่าง 2 อันขดเป็นวงขนานกัน เว้นที่ไว้ให้นักดนตรีเข้าไปบรรเลง
ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุด เพราะคนที่จะเล่นดนตรีในวงปี่พาทย์ต้องมาเรียนฆ้องวงใหญ่ก่อน ฆ้องวงใหญ่ทำหน้าที่เดินทำนองหลัก ซึ่งถือเป็นแม่บทของเพลง
ฆ้องวงใหญ่ใช้เล่นในวงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหรี

อ้างอิง  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%86%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88

ฆ้องคู่

ฆ้องคู่



                                                                         

เป็นฆ้องที่มี 2 ใบมีขนาดเล็ก เสียงต่ำใบหนึ่ง เสียงสูงใบหนึ่ง ใช้ตีกำกับจังหวะ ชุดหนึ่งมีสองลูก ลูกใหญ่ให้เสียงต่ำ ลูกเล็กให้เสียงสูง ไม้ตีทำด้วย แผ่นหนังวัว หรือ ใบหนังควายตัดเป็นวงกลม เจาะรูตรงกลางใส่ก้านไม้ ใช้บรรเลงในการเชิดหนังตะลุงและละครโนราชาตรี ชุดหนึ่งมี 2 ลูก, ปักษ์ใต้เรียก โหม่ง

 อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%86%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88

ฆ้องวงเล็ก

ฆ้องวงเล็ก


เป็นเครื่องดนตรีไทยสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 มีลักษณะเหมือนกับฆ้องวงใหญ่ แต่ลูกฆ้องมีขนาดเล็กกว่า มีลูกฆ้อง 18 ลูก บรรเลงทำนองคล้ายระนาดเอก แต่ตีเก็บถี่กว่าระนาดเอก
ฆ้องวงเล็กใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหรี

อ้างอิง  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%86%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81

แคน

แคน 


เป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวลาวที่ใช้ไม้ซางขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของชาติพันธุ์ลาว ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน แคนเป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย
ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้

อ้างอิง   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%99

โหม่ง

โหม่ง




 เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่ง ใช้ตีประกอบจังหวะ โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลมเรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้มเรียกว่า"เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูกทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็นคู่ห้า แต่ปัจจุบันเป็นคู่แปด วิธีตีโหม่งในวงเครื่องสายหรือปี่พาทย์ ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ ให้โหม่งวางอยู่ตรงหน้า จับไม้ตีตีตรง กลางปุ่มด้วยน้ำหนักพอประมาณเนื่องจากโหม่งชนิดนี้มีเสียงดังกังวานยาวนาน จึงนิยมตีห่างๆ คือสองฉิ่งสอง ฉับต่อการตีโหม่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นวงกลองยาวหรือวงมังคละ จะนิยมตีลงที่จังหวะหนัก(ฉับ)ตลอดโดยไม่เว้น

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%87

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ตะโพน

ตะโพน 



เป็นเครื่องตีที่ขึงหนัง ๒ หน้า ตัวหุ่นทำด้วยไม้ ตรงกลางป่อง ภายในขุดเป็นโพรง หนังที่ขึงหน้าเจาะรูรอบ มีเส้นหนังเล็กๆ ควั่นเป็นเกลียวถัก เรียกว่า "ไส้ละมาน" ใช้หนังตัดเป็นแถบเล็กๆ เรียกว่า "หนังเรียด" ร้อยไส้ละมานโยงทั้งสองหน้า เร่งเสียงตามต้องการ ตรงกลางมีหนังเรียดพันเป็น "รัดอก" วางนอนบนเท้า ซึ่งทำด้วยไม้เข้ารูปกับหน้าตะโพน หน้าใหญ่เรียกว่า "หน้าเท่ง" หน้าเล็กเรียกว่า "หน้ามัด" เวลาจะตีต้องติดข้าวสุกผสมกับขี้เถ้าทางหน้าเท่ง ถ่วงเสียงให้พอเหมาะ

อ้างอิง   http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/24190-036201/

กรับเสภา



กรับเสภา




ทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 20 ซม หนาประมาณ 5 ซม เหลาเป็นรูป สี่เหลี่ยมแต่ลบเหลี่ยม ออกเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวของมันเองกลอก กระทบกันได้โดยสะดวก ใช้บรรเลงประกอบในการขับเสภา เวลาบรรเลงผู้ขับเสภาจะใช้กรับเสภา 2 คู่ รวม 4 อัน ถือเรียงกันไว้บนฝ่ามือของตนข้างละคู่ กล่าวขับเสภาไปพลาง มือทั้ง 2 ข้างก็ขยับกรับแต่ละข้างให้กลอกกระทบกันเข้าจังหวะ กับเสียงขับเสภา จึงเรียกกรับชนิดนี้ว่า กรับเสภา

 อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A

ปี่ชวา


ปี่ชวา 


 ปี่ชวาเป็นเครื่องเป่าที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้นปี่ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลและดัดแปลงมาจากปี่ไฉนของอินเดีย โดยเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีสำคัญต่างๆแต่ครั้งอยุธยาตอนต้น เช่น กระบวนพยุหยาตรา การรำอาวุธ กระบี่กระบอง รำกริช หรือเข้าไปประสมในวงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่ชวากลองแขก (วงบัวลอย) ซึ่งใช้เฉพาะพิธีศพ เป็นต้น

อ้างอิง http://tkapp.tkpark.or.th/stocks/content/developer1/thaimusic/22_peechawa/web/detail.html

ปี่นอก

ปี่นอก





เป็นปี่ที่มีเสียงสูงสุดในบรรดาเครื่องเป่าตระกูลปี่ใน ลักษณะมีขนาดเล็กและเสียงแหลม มีความยาวประมาณ 31 เซนติเมตร มึความกว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร มีลักษณะบานหัวบานท้ายเช่นเดียวกับปี่ใน บริเวณเลาปี่ที่ป่องเจาะรู 6 รู ปี่นอกใช้เล่นในวงปี่พาทย์ไม้แข็งและวงปี่พาทย์ชาตรี


อ้างอิงhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81

ปี่ใน



ปี่ใน 





ปี่ใน เป็นปี่ที่มีขนาดใหญ่และมีเสียงต่ำ ในบรรดาเครื่องเป่าที่มีลิ้นตระกูลปี่ใน ลักษณะเป็นปี่ท่อนเดียว ลำปี่ที่ทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงเรียกว่า"เลา" เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ผสมอยู่ในวงปี่พาทย์มาแต่โบราณ ที่เรียกว่า " ปี่ใน " ก็เพราะว่า ปี่ชนิดนี้ เทียบเสียงตรงกับระดับเสียงที่เรียกว่า " เสียงใน " ซึ่งเป็นระดับเสียงที่วงปี่พาทย์ไม้แข็ง บรรเลงเป็นพื้นฐาน ปี่ในใช้บรรเลงใน วงปี่พาทย์เครี่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ และได้ใช้ประกอบการแสดงละครใน

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99