วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระนาดเอก


ระนาดเอก




ระนาดเอก    ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราว นิยมทำด้วยไม้แก่น ลูกระนาดมี ๒๑ ลูก ลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุที่นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปีพาทย์ไม้นวม"

อ้างอิง   http://heritage.mod.go.th/nation/musical/music.htm

กรับพวง

กรับพวง




เป็นกรับชนิดหนึ่งตอนกลางทำด้วยไม้บางๆหรือแผ่นทองเหลือง หรืองาหลายๆอันและทำไม้แก่น 2 อันเจาะรูตอนหัวร้อยเชือกประกบไว้ 2 ข้างเหมือนด้ามพัด เวลาตีใช้มือหนึ่งถือตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดลงไปบนอีกฝ่ามือหนึ่ง เกิดเป็นเสียงกรับขึ้นหลายเสียง จึงเรียกว่ากรับพวงใช้เป็นอานัตสัญญาณ เช่นในการเสด็จออกในพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน เจ้าพนักงานจะรัวกรับ 
 และใช้กรับพวงตีเป็นจังหวะ ในการขับร้อง เพลงเรือ ดอกสร้อยและใช้บรรเลงขับร้องในการแสดง นาฏกรรมด้วย

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A



พิณน้ำเต้า



พิณน้ำเต้า 


พิณน้ำเต้าเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด พิณน้ำเต้าเป็นพิณที่มีสายเดียว ทำมาจากผลของน้ำเต้าที่ถูกนำมาผ่าครึ่ง
โดยทั่วไปแล้วผู้ดีดพิณน้ำเต้าจะต้องไม่สวมเสื้อ ซึ่งก็หมายความว่าผู้ที่ดีดส่วนมากจะเป็นผู้ชาย โดยผู้ดีดจะนำเอากะโหลกเสียง หรือ กะโหลกน้ำเต้าวางประกบแนบติดกับอกซ้าย มือซ้ายจะจับที่ทวน ส่วนมือขวาจะใช้ดีดพิณ
ผู้ดีดพิณน้ำเต้าที่มีความชำนาณในการเล่นจะขยับกะโหลกน้ำเต้าให้เปิด-ปิด อยู่ตรงหน้าอกข้างซ้ายในบางครั้งบางครา เพื่อให้เกิดเสียงที่ก้องกังวาน ตามความประสงค์ของผู้ที่ดีด แล้วใช้นิ้วซ้ายช่วยกด เพื่อให้สายตึงหรือหย่อน


อ้างอิง  http://heritage.mod.go.th/nation/musical/music.htm

ซออู้



ซออู้ 


 

ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%89

ซอสามสาย

ซอสามสาย


ประวัติ

ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระกะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง ปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ (หน้า 30) ที่บันทึกไว้ว่า ชาวสยามมีเครื่องดุริยางค์เล็กๆ มีสามสายเรียกว่า “ซอ” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนนั้น มีซอสามสายและนิยมเล่นกัน และลักษณะรูปร่างของซอสามสายก็คงจะยังไม่สวยงามมากอย่างในปัจจุบันนี้  จนมาถึงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ท่านมีอัจฉริยภาพในทางศิลปะด้านต่างๆ เช่น ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง อีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านยังโปรดทรงซอสามสายเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดสร้างซอสามสายได้ด้วยความประณีต งดงาม และเป็นแบบอย่างมาจนถึงปัจจุบันนี้

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2#.E0.B9.80.E0.B8.AA.E0.B8.B5.E0.B8.A2.E0.B8.87.E0.B8.82.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.8B.E0.B8.AD.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.A2

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ซอด้วง



ซอด้วง




เป็นซอสองสาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน คันทวนยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้

 อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%87

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กระจับปี่

กระจับปี่


      เป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย ที่ใช้ดีดอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมคงใช้ดีดเล่นเป็นสามัญเช่นเดียวกับพิณเพี๊ยะและเครื่องดนตรีอื่นๆ ในกฏมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงกระจับปี่ไว้ตอนหนึ่งว่า " ร้องเพลงเรือ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทนทับโห่ร้องนี่นั่น" ต่อมาพบว่านำไปดีดร่วมกับวงขับไม้เรียกชื่อวงภายหลังว่า "วงมโหรีเครื่องสี่และวงมโหรีเครื่องหก" ต่อมาเมื่อวงมโหรีได้ขยายวงโดยให้มีเครื่องดนตรีผสมในวงมากขึ้น กระจับปี่ซึ่งมีเสียงเบาจึงถูกกลบเสียงจนไม่ได้ยินเสียงของตัวเองกระจับปี่จึงเริ่มขาดหายไปจากวงการดนตรี
      ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้สร้างระบำชุดโบราณคดี 5 สมัยขึ้น พบว่ากระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นๆ จึงได้นำมาร่วมบรรเลงผสมกับดนตรีชิ้นอื่นๆโดยเฉพาะในชุด "ระบำศรีวิชัยและชุด ระบำลพบุรี " ตามแนวคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรโดยมีอาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลงกระจับปี่จึงยังไม่หายไปจากวงกรดนตรีของไทย 

อ้างอิง https://sites.goole.com/site/dntrithiyesensnuk/home/kheruxng-dntri-thiy-prapheth-did

จะเข้

จะเข้




     จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือกระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก มีประวัติและมีหลักฐานครั้งแรกในสมัยกรุงซรีอยุธยา จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย

อ้างอิง https://sites.goole.com/site/dntrithiyesensnuk/home/kheruxng-dntri-thiy-prapheth-did

ระนาดแก้ว

ระนาดแก้ว



ระนาดแก้ว' เป็นระนาดชนิดหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าเริ่มมีในสมัยใด ในตำนานเรื่องมโหรีปี่พาทย์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "ในสมัยรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ได้เพิ่มเครื่องมโหรีขึ้น แต่ทำขนาดย่อมให้สมกับผู้หญิงเล่น เติมระนาดไม้กับระนาดแก้ว อีกสองอย่าง มโหรีวงหนึ่งเป็น ๘ คน มาในสมัยรัชกาลที่ ๒ เลิกระนาดแก้วเสียใช้ฆ้องวงแทน
ส่วนประกอบของระนาดแก้วนั้น มีรายละเอียดบอกไว้แต่เพียงว่า รางระนาดทำด้วยไม้รัก มีลูกระนาดทำจากแก้วจำนวน ๑๖ ลูก ซึ่งแต่เดิมระนาดแก้วใช้ในวงมโหรี แต่ภายหลังได้ถูกตัดออกจากวง เนื่องจากเสียงเบาและแตกง่าย

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7

ปี่แน


ปี่แน


ปี่แน เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยใบตาล ซึ่งผ่านกรรมวิธี มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงกลองตึ่งนง วงพาทย์เมือง เป็นต้น มี 2 ขนาด ได้แก่
  • ขนาดเล็กนั้นเรียกว่าแนเล็ก โดยมีรูปร่างคล้ายปี่ชวาแต่มีขนาดใหญ่กว่า
  • ขนาดใหญ่เรียกว่าแนหลวง มีรูปร่างคล้ายปี่มอญ

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%99